วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ธนาคารขยะชุมชน

ความเป็นมา

       สืบเนื่องจากอำเภอกุสุมาลย์ ได้มีการจัดประชุมสภาสุขภาพอำเภอ เมื่อวันที่ 14กันยายน ๒๕๕๕ ขึ้น
เพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์สุขภาพอำเภอ โดยการลงนามความร่วมมือกัน ระหว่าง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสกลนคร กับภาคีเครือข่ายต่างๆ ในนามของสภาสุขภาพอำเภอ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาสุขภาพประชาชน ในด้านต่างๆ
จำนวน ๑๐ ด้าน ดังนี้

       . ด้านเมืองน่าอยู่
       . ด้านการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย
       . ด้านโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
       . ด้านศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ และศูนย์เด็กเล็กปลอดโรค
       . ด้านการแพทย์พื้นบ้าน
       . ด้านการจัดบริการปฐมภูมิเชิงรุก
       . ด้านการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ( killers)
       . ด้านอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็ง
       . ด้านการส่งเสริมสุขภาพ
       ๑๐. ด้านการป้องกันยาเสพติด

       การทำงานด้านเมืองน่าอยู่ เป็นงาน 1 ใน 10 ของ
กลยุทธการทำงานของสภาสุขภาพอำเภอ ตามแผนการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม  พ.ศ.๒๕๕๕ – ๒๕๕๙  (ฉบับปัจจุบัน)  มีแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  ที่เป็นความสมดุล  ความพอประมาณ  ความมีเหตุผลและมีภูมิคุ้มกัน การสร้างฐานเศรษฐกิจที่มั่นคงและยั่งยืนบนรากฐานการพัฒนาของความสมดุล  ใน ๓ มิติ  คือ  เศรษฐกิจ  สังคม  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  โดยใช้แนวทางการจัดการแบบบูรณาการที่สอดคล้องตามระบบนิเวศของแต่ละพื้นที่  รวมทั้งผสมผสานการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมกับการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
  
       สภาสุขภาพอำเภอกุสุมาลย์ โดยสำนักงานสาธารณสุขอำเภอกุสุมาลย์ (เลขาสภาสุขภาพอำเภอ) ได้นำโครงการการจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชน (Community  Based  Solid  Waste  Management : CBM)  เข้ามาดำเนินงานภายในเขตอำเภอกุสุมาลย์ จำนวน 5 ตำบล โดยเริ่มที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ทั้งหมด 6 แห่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ชุมชนและครัวเรือนเข้ามามีส่วนร่วม  โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนมีการคัดแยกขยะให้มากที่สุด  จนทำให้ปริมาณขยะเหลือน้อยที่สุดก่อนนำไปกำจัด    บ่อฝังกลบขยะ

รูปแบบการดำเนินงาน

      สาธารณสุขอำเภอกุสุมาลย์ (โดยนายพลนาภา นนสุราช) มอบหมายภาระกิจให้ รพ.สต.ทั้งหมด 6 แห่ง โดยให้ แต่ละพื้นที่ดำเนินการ ร่างระเบียบข้อบังคับขึ้นมา โดยมอบหมายแนวทางและนโยบายกว้างๆ ดังนี้
      1. ให้ รพ.สต.ทุกแห่ง เริ่มดำเนินการ กับกลุ่ม อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และกลุ่มแกนนำต่างๆในหมู่บ้านก่อน และเชิญชวนสมาชิก อื่นๆ เข้ามาร่วมดำเนินการ โดยนับเป็นหลังคาเรือน

      2.ต้องสมัครเป็นสมาชิกของกลุ่มและ ขายขยะรีไซเคิลติดต่อกันไม่น้อยกว่า ๖ เดือน
      3.หลังจากขายขยะรีไซเคิลติดต่อกันครบ ๖ เดือน แล้วจำนวนเงินที่ขายขยะจะต้องครบ 300 บาท ไว้เป็นทุน ในการดำเนินการฌาปนกิจสงเคราะห์ ธนาคารขยะ (ฌกส.) หากไม่ครบสมาชิกจะต้องฝากให้ครบจำนวนก่อน จึงจะมีสิทธิ์
      4.หากหยุดขายขยะติดต่อกันเกิน    เดือน  จะพ้นสภาพการเป็นสมาชิก และจะต้องเริ่มต้นนับอายุการเป็นสมาชิกใหม่ติดต่อกัน 3 เดือน จึงจะกลับมามี สิทธิดังกล่าวอีกครั้ง

      5.กรณีสมาชิกในครอบครัวย้ายเข้ามาเพิ่มเติมต้องมีชื่อยู่ในทะเบียน นับตั้งแต่วันย้ายเข้าบ้านสมาชิกโครงการฯไม่น้อยกว่า ๖ เดือน จึงมีสิทธิรับเงิน ค่าฌาปนกิจ
      6.ให้ครอบครัวที่ประสงค์จะสมัครเป็นสมาชิกยื่นใบสมัครได้ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ของตนเอง หรือที่ทำการชมรมที่ก่อตั้ง  พร้อมแนบสำเนาทะเบียนบ้านเพื่อแจ้งรายชื่อสมาชิกในครอบครัว
การเบิกถอนเงินและรักษาสภาพสมาชิก
      1.ครอบครัวที่สมัครเป็นสมาชิก จะได้รับสมุดรับฝาก (สนับสนุนโดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร ) ในการดำเนินการ นำขยะรีไซเคิลที่คัดแยกแล้ว มาขาย และจะได้รับเงินเป็นเงินฝากในบัญชีธนาคารขยะ ตามจำนวนขยะที่ขายได้ ซึ่งการดำเนินการจะนัดหมายกันเดือนละ 1 ครั้ง
      2.หลังจากดำเนินการครบ 6 เดือนแล้ว สมาชิกที่มียอดเงินคงเหลือในบัญชีเกิน กว่า 
๓๐๐ บาท มีสิทธิ์ที่จะเบิกถอนเงิน ในส่วนที่เกิน 300 บาท ได้ หากไม่ครบตามจำนวนเงินจะต้องดำเนินการให้ครบก่อนจึงจะมีสิทธิ
      3.หากหยุดขายขยะติดต่อกันเกิน    เดือน  จะพ้นสภาพการเป็นสมาชิก และจะต้องเริ่มต้นนับอายุการเป็นสมาชิกใหม่ติดต่อกัน 3 เดือน จึงจะกลับมามี สิทธิดังกล่าวอีกครั้ง
      4.การสมทบจ่ายค่าฌาปนกิจศพแก่สมาชิกรายอื่นๆ หลังคาเรือนละ 20 ต่อ 1 ศพ
      5.ครอบครัวที่เป็นสมาชิก  ประสงค์ที่จะขอรับเงินค่าฌาปนกิจศพ  จะต้องยื่นเอกสารดังนี้
      -คำร้องขอรับเงินค่าฌาปนกิจศพ
      -ใบมรณะบัตรของผู้เสียชีวิต
      -สำเนาบัตรประจำตัวผู้ยื่นคำขอ
      -สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียชีวิต
      -สำเนาทะเบียนบ้าน


รูปกิจกรรมการดำเนินงาน 
 
 
 
 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น